วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของโคมล้านนา
ตำนานโคม
ตำนานโคม การยกโคม หรือการลอยโคม แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ กระทำขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้ง 3 คือพระนารายณ์ พระพรหม พระอิศวร ภายในโคมจุดเทียน หรือทางเปรียงหรือไขข้อพระโคซึ่งพราหมณ์นำมาถวายการบูชาด้วยน้ำมันไขข้อโคนี้ เป็นพิธีทางลัทธิพราหมณ์แท้ๆ
ในเอกสารโบราณของล้านนาที่ได้บันทึกคติ ความเชื่อ เกี่ยวกับพิธีจุดประทีปโคมไฟนี้มีอยู่หลายฉบับวัดหนองออน อานิสงส์ประทีปฉบับวัดแม่ตั๋ง วัดรัตนาราม วัดดวงดีเป็นต้น โดยเฉพาะวัดหนองออน ได้กล่าวถึงอานิสงส์ของการจุดประทีปบูชาว่า ผู้ใดก็ตามได้จุดประทีปในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองหากเกิดมาชาติหน้า จะได้เกิดในตระกูลเศรษฐี เป็นผู้มีรูปโฉมโนมพรรณอันสสวยงาม อุดมไปด้วยทรัพย์สินเงินทองข้าวของต่างๆ
กล่าวได้ว่า คติความเชื่อเกี่ยวกับการจุดประทีปบูชานั้นได้รับอิทธิพลมาจากชาดกนอกนิบาตร เรื่อง แม่กาเผือก ซึ่งแต่งโดยชาวล้านนา จานไว้ในใบลานซึ่งบันทึกเอาไว้ว่าในสมัยที่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์คือ พระกกสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม พระศรีอาริยะเมตไตร เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ได้จุดประทีปบูชาคูณผู้เป็นมารดาผู้เป็นแม่กาเผือกที่ตายไปอยู่บนสวรรค์ พุทธศาสนิกชนจึงได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อๆกันมาและในตอนเย็นของคืนยี่เป็งพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ก็จะมีการนำเอาพระธรรมเทศนา เรื่องแม่กาเผือกนี้มาเทศน์ให้ศรัทธาได้รับฟัง และมีกี่จุดประทีปสว่างไสว พร้อมทั้งการจุดประทัดด้วย
ในกลางวันจะมีการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ รวมทั้งการแขวนโคมไฟไว้ประตู หน้าบ้าน และปักเสาสูงชักโคมแขวนไว้บนอากาศ เรื่องอานิสงส์การจุดประทีปบูชาฉบับวัดพรหม จังหวัดน่าน ได้บันทึกเอาไว้ว่า สมัยพุทธกาลได้มีการปักเสาสูงชักโคมขึ้นไปขวนไว้บนอากาศเป็นพุทธบูชามานานแล้ว
ในปัจจุบันโคมนั้นทำขึ้นมาเพื่อนำไปถวายที่วัด เพราะมีความเชื่อว่าชาติหน้าเกิดมาจะมีสติปัญญา เนื่องจากแสงสวางที่ส่องเข้าไปในความมืดเปรียบกับบุคคลที่มีปัญญาจะมองเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้ ไม่มืดบอดแต่เดิมประเพณีการจุดโคมจะทำขึ้นเฉพาะในบ้านของเจ้านายใหญ่โตหรือผู้มีอันจะกินเท่านั้น โดยจะใช้ประทีปให้เกิดแสงสว่างแล้วนำไปใส่ไว้ในโคมหรือในประทีป ที่มีลักษณะเป็นผางประทีปเล็กๆแล้วใช้น้ำมันงา น้ำมันหุ่ง หรือน้ำมันมะพร้าวใส่ไปในถ้วยดิน เพื่อให้ไฟติดไส้ที่อยู่ตรงกลางถ้วยหรือประที แต่ในปัจจุบันใช้ไฟฟ้าเสียมากกว่า ตามปกติการจุดโคมทำกันในวันพระ แต่จริงๆแล้วการจุดโคมสามารถจุดได้ทุกวัน โดยไม่จำกัดโอกาสหรือที่เรียกตามภาษาทางธรรมว่า อกาลิโก ซึ่งแล้วแต่ความพอใจและความสะดวก โคมเมื่อจุดแล้วก็จะนำไปแขวนตามชายคาหน้าบ้าน ให้เป็นที่สวยงามและเป็นการบูชาเทพาอารักษ์ อีกทางหนึ่งด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น