วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

จุดมุ่งหมายของการจุดโคมบูชา

จุดมุ่งหมายของการจุดโคมบูชา

1. เพื่อเป็นพุทธบูชา
2. เพื่อความสวยงาม
3. เพื่อให้แสงสว่าง
4. เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน


การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.นำไปประดับตกแต่งที่อยู่อาศัยตามบ้านเรือนและร้านค้าให้สวยงามน่าดู
2.ประดิษฐ์เป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวในขนาดเล็กถึงใหญ่
3.ประยุกต์โดยนำวัสดุเหลือใช้เช่น เศษผ้า หรือกระดาษอื่นมาประดิษฐ์แทนกระดาษสา

ประโยชน์ของโคมล้านนา

ประโยชน์ของโคมล้านนา
1.เพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน
2.เพื่อเป็นพุทธบูชาในเทศกาลยี่เป็งหรือวันลอยกระทง
3.สืบสานและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นภาคเหนือ
4.เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านตามความเชื่อของชาวล้านนา
5.เพื่อตกแต่งและประดับประดาบ้านเรือนหรือสถานที่ต่างๆที่แสดงถึงความเป็นล้านนา

โคมล้านนากับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

โคมล้านนากับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
                ปัจจุบันโคมล้านนาได้รับความสำคัญและกลับมานิยมกันอย่างแพร่หลายทั้งในท้องถิ่นและผู้ที่มาเยี่ยมเยือนยังภาคเหนือ ก็สามารถหาซื้อกลับไปเป็นของฝากให้เพื่อนๆที่บ้าน ที่ทำงานได้ง่ายซึ่งมีการจำหน่ายทั้งสินค้าชุมชน และตามร้านค้าที่จำหน่ายโดยเฉพาะแต่คนรุ่นหลังยังคงได้ดูแลและอุดหนุนไปร่วมพิธีในเทศกาลนั้น ในฐานะเราเป็นคนไทยโดยเฉพาะอาศัยอยู่ควรอย่ายิ่งที่จะช่วยกันสืบสาน อนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป และวิธีที่จะอนุรักษ์ และสืบสานต่อไปนั่นคือ การฝึกฝนหัดประดิษฐ์โคมอย่างหลากหลายลักษณธ หลายรูปแบบรวมทั้งใช้จินตนาการประยุกต์หรือ ออกแบบในรูปแบบใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับยุกต์สมัยและการเวลา จะทำให้เรายังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามต่อไป

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง การประดิษฐ์โคมล้านนา
1. ศาสนาใดที่มีการนำโคมมาประกอบพิธีทางศาสนาเป็นศาสนาแรก
ก. ศาสนาพุทธ                                                     ข. ศาสนาซิกส์
ค. ศาสนาพราหมณ์                                              ง. ศาสนาฮินดู
2. โคมไฟของล้านนาเป็นความเชื่อเกี่ยวกับพิธีอะไร
ก. พิธีปล่อยโคม                                                   ข. พิธีจุดประทีป
ค. พิธีจุดเทียน                                                      ง. พิธีตกแต่งประกอบวัดวาอารามในวันยี่เป็ง
3. โคมล้านนาที่พบเห็นในปัจจุบันได้ดัดแปลงประยุกต์และพัฒนาการมาจากการประดิษฐ์โคมอะไร
ก. โคมลอย                                                            ข. โคมดาว
ค. โคมไห                                                              ง. โคมธรรมจักร
4. โคมล้านนาแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ
ก. 2                                                                         ข. 3
ค. 4                                                                         ง. 5
5. วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์โคมล้านนาส่วนใหญ่ใช้วัสดุประเภทใด
ก. วัสดุสังเคราะห์                                                ข. วัสดุจากธรรมชาติ
ค. วัสดุตามท้องถิ่น                                              ง. วัสดุที่ดัดแปลงจากธรรมชาติ
6. ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการจุดโคมบูชา
ก. เพื่อเป็นพุทธบูชา                                           ข. เพื่อความสวยงาม
ค. เพื่ออุทิศแก่ผู้มีพระคุณ                                  ง. เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน
7. ข้อใดเป็นลักษณะของโคมตามชื่อที่สร้าง
ก. ลักษณะของตัวโคมที่เหมือนธรรมชาติ      ข. ลักษณะของการใช้งานบูชา
ค. ลักษณะของวัสดุที่ใช้ประดิษฐ์                    ง. ลักษณะลักษณะตามความนิยม
8. ข้อใดเป็นวัสดุที่ใช้ในขึ้นตอนกานขึ้นโครงสร้างของโคม
1  ลวด                                                                   
2  กรรไกร                                                            
3  กระดาษสา                                                      
4  กาว
5  กระดาษอังกฤษสีเหลือง
6  ไม้ไผ่
7  ลวดเย็บกระดาษ
ก. 3 4 5 6 7                                                            ข. 1 2 3 4 6
ค. 1 3 4 5 6                                                            ง. 1 2 3 6 7
9. สาเหตุสำคัญใดที่เราเลือกใช้กระดาษสาสีขาวหรือวัสดุในการประดิษฐ์ตัวโคม
ก. เพราะโปร่งแสง                                              ข. เพราะหาได้ง่าย
ค. เพราะราคาถูก                                                 ง. เพราะเป็นต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. วัสดุข้อใดที่เราสามรถดัดแปลงนำไปใช้ในการประดับตัวโคมแทนกระดาษอังกฤษได้และสวยงาม
ก. กระดาษว่าว                                                     ข.กระดาษโปสเตอร์
ค.กระดาษห่อของขวัญ                                       ง.กระดาษรีไซเคิลที่นำมาทำเปเปอร์ มาเช่ร์

ลักษณะของโคมล้านนา

ลักษณะของโคมล้านนา
ลักษณะของโคมล้านนา มีอยู่ 3 ลักษณะ
1.โคมถือ แบ่งได้ 2แบบ คือ
1.1 โคมดอกบัว รูปแบบเหมือนดอกบัวตูมใช้สำหรับพระ หรือตั้งพระพุทธรูป
1.2 โคมหูกระต่าย
(อ่าน โกมหูกระต่าย)หมายถึง พรหมวิหารสี่ จะใช้ถือเดินในขบวนแห่ จากนั้นไปประดับบริเวณรอบโบสถ์ หรือสถานที่ๆมีพิธีการ หรือบริเวณหน้าบ้าน โคมหูกระต่ายมี 4 ด้าน ซึ่งเปรียบกับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นโคมที่ใช้ประดับในเทศกาลยี่เป็ง (วันลอยกระทง) หรือวันเพ็ญเดือนสิบสอง สามารถแยกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ให้แสงสว่างและส่วนที่เป็นเรือนโคม ส่วนที่ให้แสงสว่างนั้นมักใช้ประทีปมากกว่าตะเกียง และในระยะหลังนิยมใช้ไฟฟ้าแทนประทีป
โคมหูกระต่ายมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร เจาะรูทั้งสี่มุม ใช้ไม้ไผ่เหลาขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตรปักลงในรูนั้น ทำเป็นปีกขึ้นไปโดยตัดขอบบนให้โค้งและสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ด้านบนให้กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร จะได้เรือนโคมลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีปลายบานออกจากกัน ใช้กระดาษว่าวหรือกระดาษแก้วสีต่างๆปิดทับทั้งสี่ด้านของเรือนโคมและเปิดช่องด้านบนเมื่อใช้งานก็วางประทีป หรือเทียนที่จุดไฟลงกลางเรือนโคม
ส่วนฐานของโคมหูกระต่ายนั้น อาจทำด้วยกาบกล้วยชิ้นจากลำต้นมะละกอหรือแผ่นไม้ ก็ได้ และอาจใช้วางประดับอยู่กับที่หรืออาจทำให้ถือไปได้นั้นฐานของเรือนโคมอาจทำด้วยไม้สักเจาะรูตรงกลางสำหรับใส่ด้ามถือ ซึ่งมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
2.โคมแขวน หรือ โคมค้าง คือโคมที่จะต้องติดหรือแขวนไว้บนค้าหรือที่สูงๆดวงโคมที่นำมาติดตั้งบนค้างนี้ มักทำโครงด้วยไม้ไผ่ปะด้วยกระดาษ เป็นโคมทรงกลมหักมุมที่เรียกว่าโคมรังมดส้ม มีประทีปหรือเทียนจุดให้สว่าง ทั้งนี้อาจทำเป็นรูปอื่น อาทิเช่น รูปหมี รูปไก่ รูปนกยูง รูปดาวห้าแฉก รูปเครื่องบิน รูปจรวด ก็อาจทำได้ตมที่เห็นว่างาม และอาจยังต้องใช้โคมญี่ปุ่นหรือจีนมาทำโคมค้างก็ได้ มีดังนี้
2.1 โคมเพชร หรือโคมไห หรือโคมดิ่ง เป็นโคมที่พัฒนามาจากโคมรังมดส้ม หรือโคมเสมาธรรมจักรนั่นเอง โคมเพชรเรียกชื่อตามลักษณะของรูปทรงที่มีลักษณะเหมือนของจริงวัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์ไม่แตกต่างจากโคมอื่นๆเลย
2.2 โมดาว เป็นโคมที่ประยุกต์ขึ้นมาใหม่จากโคมดั้งเดิมแต่ยังคงใช้วัสดุ และวิธีการเดิม แต่ดัดแปลงในรูปแบบของโครงสร้างการขึ้นโครงของตัวโมเท่านั้นที่ต้องหักไม้ไผ่เป็นแฉก 5 แฉกคล้ายรูปดาว ส่วนลวดลายประดับบนตัวโคมคงใช้ลายที่แตกต่างจากโคมอื่น นั้นคือ ลายแก้วชิงดวง เป็นลวดลายที่คงเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา
2.3 โคมทรงกระบอก แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- โคมงวงช้าง ซึ่งยาวกว่า และใช้จุดบูชาหน้าพระประทาน
-โคมกระบอก
2.4 โคมแปดเหลี่ยม หรือ โคมธรรมจักร มีแปดด้าน หมายถึง มรรคมีองค์แปด
2.5 โคมเจียรนัย หรือ โคมเดี่ยว
2.6 โคมผัด (หมุน) โดยใช้ความร้อนจากควันเทียนทำให้หมุน มีสองชั้นด้วยกัน ชั้นในจะมีแกนฝนเป็นลักษณะเข็มวางไว้ และจะมีลวดลายต่างๆเวลาหมุนเงาลวดลายจะปรากฏที่ชั้นนอก ส่วนมากโคมผัดจะตั้งไว้ที่วัดและเคลื่อนย้ายไม่ได้ โคมผัดเป็นโคมที่หมุนได้ ซึ่งคล้ายกับทางภาคกลาง เรียกว่า โคมเวียน โคมนี้ทำเป็นรูปทรงกระบอก ขนาดกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร สูงประมาณ 70 เซนติเมตร หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสา หรือกระดาษว่าวสีขาวอาจทำเป็นสองชั้นเดียวกันก็ได้หากทำครอบสองชั้นแล้ว ชั้นในจะมีภาพต่างๆปิดไว้เป็นระยะๆพองาม มีสายหรือซี่โยงจากกรอบเข้าหาแกนกลางซึ่งทำเป็นตุ่มใส่ไว้ในก้นถ้วย ปิดแถบกระดาษเข้ากับสายหรือซี่นั้นโดยให้มีมุมและระยะที่ลงตัว เมื่อจุดเทียนซึ่งติดตั้งไว้กลางโคมนั้น ความร้อนจากเปลวเยนจะไปกระทบกับแถบกระดาษและจะผลักให้ส่วนที่เป็นโค้งครอบนั้นให้ผัด คือหมุนไปเรื่อยๆ เงาของภาพที่ปิดไว้จะส่องไปกระทบกับครอบชั้นนอก สร้างความเคลื่อนไหวด้วยแสงเงาได้ระดับหนึ่ง
2.7 โคมรูปสัตว์ต่างๆ
เป็นโคมซึ่งได้พัฒนาดัดแปลงจาดความคิดของผู้ที่ประดิษฐ์จากโคมที่มีมาแต่ดั้งเดิมมาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
3.โคมลอย เป็นคำที่ภายหลังที่ใช้เรียกเครื่องเล่นทำด้วยกระดาษลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ใช้ลมร้อนบรรจุภายในให้ลอยขึ้นไปได้ เดิมเรียก ว่าวรม (อ่าน ว่าวฮม) หรือว่าวควันเป็นโคมที่ทำจากการต่อกระดาษว่าวเป็นโคมขนาดใหญ่เป็นทรงกลม หรือสี่เหลี่ยม ตรงปากใช้ไม้ไผ่ขดเป็นวงกลมพอให้ใช้ไม้ไผ่ขดเป็นวงกลม พอให้ใช้ไม้ที่พันผ้าและชุบน้ำมันให้เกิดควัน นำไม้จุดไฟนี้เข้าไปในวงกลมนี้ทำให้ควันอยู่ข้างใน เมื่อปล่อยควันเข้าไปจนกระทั่งโคมนั้นลอยขึ้นสู่อากาศ อาจจะมีการนำเงิน หรือเขียนหนังสือติดไปด้วย หรือส่วนใหญ่มักจะใส่ประทัดเป็นหางเมื่อจุดขึ้นไประยะหนึ่ง ก็จะเกิดเสียงดัง
คติการปล่อยโคมนี้เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ หรือบูชาผู้ให้กำเนิดตนคือ พ่อเกิด แม่เกิด โดยเฉพาะผู้ที่เกิดปีจอ ต้องไหว้บูชา พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ หรือเป็นการสะเดาะเคราะห์จึงนิยมทำโคมลอย และในอีกประโยชน์หนึ่ง คือ สมัยโบราณเมื่อเกิดสงคราม ก็จะใช้โคมลอยไปยังเมื่อของข้าศึกพอดีกับธูปไหม้ลงถึงดินไฟ ก็จะระเบิดติดกระดาษโคม ทำให้ลูกไฟตกลงยังค่าย บ้านเรือนข้าศึก โคมลอยนี้จะเป็นโคมชนิดเดียวที่จะจุดล่อยในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในตอนเช้าถึงเที่ยงเป็นส่วนมาก
ในปัจจุบันไม่ได้เจาะจงใช้เฉพาะงานยี่เป็ง หรือ เทศมหาชาติ แต่จะใช้เป็นพุทธบูชาได้ตลอดปี และยังใช้ในการประดับตกแต่งบ้านเรือน อาคารสำนักงาน ตลอดทั้งโรงแรมต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้สึกและบรรยากาศแบบล้านนา อย่างสวยงาม ซึ่งโคมนี้แม้จะรับอิทธิพลจากหลายๆประเทศแต่ในปัจจุบันที่หลงเหลืออยู่ที่เห็นชัดก็จะมีแต่ในจังหวัดเชียงใหม่หรือจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น
ประวัติความเป็นมาของโคมล้านนา
ตำนานโคม
ตำนานโคม การยกโคม หรือการลอยโคม แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ กระทำขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้ง 3 คือพระนารายณ์ พระพรหม พระอิศวร ภายในโคมจุดเทียน หรือทางเปรียงหรือไขข้อพระโคซึ่งพราหมณ์นำมาถวายการบูชาด้วยน้ำมันไขข้อโคนี้ เป็นพิธีทางลัทธิพราหมณ์แท้ๆ
ในเอกสารโบราณของล้านนาที่ได้บันทึกคติ ความเชื่อ เกี่ยวกับพิธีจุดประทีปโคมไฟนี้มีอยู่หลายฉบับวัดหนองออน อานิสงส์ประทีปฉบับวัดแม่ตั๋ง วัดรัตนาราม วัดดวงดีเป็นต้น โดยเฉพาะวัดหนองออน ได้กล่าวถึงอานิสงส์ของการจุดประทีปบูชาว่า ผู้ใดก็ตามได้จุดประทีปในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองหากเกิดมาชาติหน้า จะได้เกิดในตระกูลเศรษฐี เป็นผู้มีรูปโฉมโนมพรรณอันสสวยงาม อุดมไปด้วยทรัพย์สินเงินทองข้าวของต่างๆ
กล่าวได้ว่า คติความเชื่อเกี่ยวกับการจุดประทีปบูชานั้นได้รับอิทธิพลมาจากชาดกนอกนิบาตร เรื่อง แม่กาเผือก ซึ่งแต่งโดยชาวล้านนา จานไว้ในใบลานซึ่งบันทึกเอาไว้ว่าในสมัยที่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์คือ พระกกสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม พระศรีอาริยะเมตไตร เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ได้จุดประทีปบูชาคูณผู้เป็นมารดาผู้เป็นแม่กาเผือกที่ตายไปอยู่บนสวรรค์ พุทธศาสนิกชนจึงได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อๆกันมาและในตอนเย็นของคืนยี่เป็งพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ก็จะมีการนำเอาพระธรรมเทศนา เรื่องแม่กาเผือกนี้มาเทศน์ให้ศรัทธาได้รับฟัง และมีกี่จุดประทีปสว่างไสว พร้อมทั้งการจุดประทัดด้วย
ในกลางวันจะมีการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์ รวมทั้งการแขวนโคมไฟไว้ประตู หน้าบ้าน และปักเสาสูงชักโคมแขวนไว้บนอากาศ เรื่องอานิสงส์การจุดประทีปบูชาฉบับวัดพรหม จังหวัดน่าน ได้บันทึกเอาไว้ว่า สมัยพุทธกาลได้มีการปักเสาสูงชักโคมขึ้นไปขวนไว้บนอากาศเป็นพุทธบูชามานานแล้ว
ในปัจจุบันโคมนั้นทำขึ้นมาเพื่อนำไปถวายที่วัด เพราะมีความเชื่อว่าชาติหน้าเกิดมาจะมีสติปัญญา เนื่องจากแสงสวางที่ส่องเข้าไปในความมืดเปรียบกับบุคคลที่มีปัญญาจะมองเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้ ไม่มืดบอดแต่เดิมประเพณีการจุดโคมจะทำขึ้นเฉพาะในบ้านของเจ้านายใหญ่โตหรือผู้มีอันจะกินเท่านั้น โดยจะใช้ประทีปให้เกิดแสงสว่างแล้วนำไปใส่ไว้ในโคมหรือในประทีป ที่มีลักษณะเป็นผางประทีปเล็กๆแล้วใช้น้ำมันงา น้ำมันหุ่ง หรือน้ำมันมะพร้าวใส่ไปในถ้วยดิน เพื่อให้ไฟติดไส้ที่อยู่ตรงกลางถ้วยหรือประที แต่ในปัจจุบันใช้ไฟฟ้าเสียมากกว่า ตามปกติการจุดโคมทำกันในวันพระ แต่จริงๆแล้วการจุดโคมสามารถจุดได้ทุกวัน โดยไม่จำกัดโอกาสหรือที่เรียกตามภาษาทางธรรมว่า อกาลิโก ซึ่งแล้วแต่ความพอใจและความสะดวก โคมเมื่อจุดแล้วก็จะนำไปแขวนตามชายคาหน้าบ้าน ให้เป็นที่สวยงามและเป็นการบูชาเทพาอารักษ์ อีกทางหนึ่งด้วย

โคมล้านนา

โคมล้านนา หรือ ภาษาทางภาคเหนือ  เรียกว่า โกม เป็นศิลปะการประดิษฐ์ของภูมิปัญญาทางถิ่นของคนล้านนา และมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนล้านนาในเรื่องของความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ในเทศกาลเดือนสิบสอง หรืองานลอยกระทง
การประดิษฐ์โคมล้านนา คือ การนำเอาวัสดุในท้องถิ่นเช่น ไม่ไผ่ กระดาษสา ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่โบราณกาลสืบทอดต่อๆกันมาและเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ออกแบบ ตกแต่ง ใช้ศิลปะแบบภูมิปัญญาไทย จุดประสงค์เดิมเพื่อจุดเป็นพุทธบูชาในความเชื่อของคนสมัยโบราณ ซึ่งปัจจุบันนี้ คนไทยล้านนาได้นำเอาเทคโนโลยี เทคนิคใหม่ๆมาสร้างสรรค์งานเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่นนำมาตกแต่งประดับประดาสถานที่ และบ้านเรือน ร้นค้า การจัดนิทรรศการในเรื่องของกรอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ทำให้มีผู้สนใจมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นคนรุ่นหลังควรได้สืบสานความเป็นไทยล้านนาโดยการศึกษาประวัติ ความเป็นมา รู้ขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ มีทักษะในการประดิษฐ์ ออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง และสมารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้